บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

บารมีต่างกับบุญอย่างไร


ผมไปอ่านพบกระทู้เก่ามากกระทู้หนึ่ง ในห้องศาสนา พันธุ์ทิพย์ คนถามไว้เมื่อปี 2551  กระทู้นั้นชื่อ “บารมีคืออะไร ครับทำไมเราต้องสร้าง ต่างจากบุญอย่างไร

เนื้อหาของกระทู้ก็เป็นดังนี้

ผู้รู้บางท่านบอกว่า  บารมีแปลว่ากำลังใจ จริงไหมครับ ถ้าเรามีบารมีมากๆ แปลว่า เรามีกำลังใจเยอะๆ และที่โบราณ บอกว่าเราต้องสั่งสมบารมีและบุญแสดงว่าบารมีไม่เหมือนบุญ

แต่นักเลงเจ้าพ่อบางคนใช้คำว่าบารมีผิด ใครได้ยินกันไหมครับ ผู้มีบารมี อะไรแบบนี้

เท่าที่อ่านมาปรากฏว่า ไม่มีใครตอบคำถามดังกล่าวอย่างถูกต้องเลยแม้แต่คนเดียว  ซึ่งก็สนับสนุนสมมุติฐานของผมที่ว่า “คนในห้องศาสนา พันธุ์ทิพย์มีแต่พวกสมองหมา ปัญญาควายทั้งสิ้น

มีคนที่เข้าไปร่วมความคิดเห็นคนหนึ่ง เอาความหมายมาจากพจนานุกรมและหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ดังนี้

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

บารมี น. (1) คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; (2) คุณความดีที่ได้บําเพ็ญมา, (3) คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า - ชมพระบารมี - พระบารมีปกเกล้าฯ - พ่ายแพ้แก่บารมี.

บุญ, น. (1) การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; (2) ความดี, คุณงามความดี. ว. (3) ดี เช่น คนใจบุญ, (4) มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ.  

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

[325] บารมี 10 หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น

1. ทาน 2. ศีล 3. เนกขัมมะ 4. ปัญญา 5. วิริยะ 6. ขันติ 7. สัจจะ 8. อธิษฐาน 9. เมตตา 10. อุเบกขา

บารมีนั้น ท่านกล่าวว่าจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ ต้องครบ 3 ขั้น คือ  1. บารมี 2. อุปบารมี 3. ปรมัตถบารมี

บำเพ็ญทั้ง 10 บารมี ครบ 3 ขั้นนี้ เรียกว่า สมตึสปารมี หรือ สมดึงสบารมี แปลว่า บารมี 30 ถ้วน.

[88] บุญกิริยาวัตถุ 3  1. ทานมัย 2. สีลมัย 3. ภาวนามัย

คนที่นำความหมายเหล่านี้มาลงในกระทู้ ก็ลงไปแบบดื้อๆ แบบสมองหมา ปัญญาควายอย่างนั้นไม่ได้อธิบายว่า บารมีกับบุญ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

เอาเรื่องบารมี 30 ทัศก่อน...

คนเราทุกคนที่เกิดมานั้น จะต้องได้ไปอายตนะนิพพานกันทุกคน แต่จะไปแบบไหนคือ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์สาวก ก็แล้วแต่ว่า แต่ละท่านจะอธิษฐานกันไว้อย่างไร

ที่เรายังไปอายตนะนิพพานกันไม่ได้ก็เพราะ กิเลส สังโยชน์ยังอยู่กับตัวเรา  การที่จะกำจัดกิเลส สังโยชน์ได้นั้น เราจะต้องมีบารมีครบ 30 ทัศเสียก่อน

ดังนั้น การเกิดมาในแต่ละชาติ จุดมุ่งหมายก็คือ เกิดมาเพื่อสร้างสมบารมีให้ครบ 30 ทัศ

อย่างไรก็ดี การเกิดมานั้น ถ้าในบางชาติลืมวัตถุประสงค์หลัก แต่ไปสร้างกรรมชั่วเข้า  ผลของกรรมชั่วก็จะส่งผลให้ทำกรรมชั่วไปเรื่อย กว่าจะนึกได้ และกลับมาเข้าสู่หนทางสร้างบารมีต่อ ก็ต้องเสียเวลาไปกับการชดใช้กรรมชั่วนานแสนนาน

ที่นี้มาถึงเรื่องบุญ

บุญกิริยาวัตถุ 3  1. ทานมัย 2. สีลมัย 3. ภาวนามัย

บุญก็คือ การปฏิบัติ 3 อย่างข้างต้น 

แล้วบุญกับบารมีมีความสัมพันธ์กันอย่างไร  ขอเปรียบเทียบกัน ดังนี้

1. ทานมัย 2. สีลมัย 3. ภาวนามัย

1. ทาน 2. ศีล 3. เนกขัมมะ 4. ปัญญา 5. วิริยะ 6. ขันติ 7. สัจจะ 8. อธิษฐาน 9. เมตตา 10. อุเบกขา

จะเห็นว่า บุญก็คือบารมีนั่นเอง ตรงกัน 3 ข้อแรก  แล้วข้อหลังๆ มันคืออะไร ขอยกตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้

ในการสร้างบุญบารมีนั้น บางทีมันมีอุปสรรค  แต่เราก็ไม่ย่อท้อ  เราก็จะได้ “วิริยะ” ไปด้วย  ถ้าอุปสรรคดังกล่าวเกิดจากคนมาขัดขวาง แล้วเราอดทนไม่ถือโกรธ เราก็จะได้ “ขันติ” ไปด้วย

แล้วบุญกับบารมีแตกต่างกันอย่างไร

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า “บุญก็คือบารมี”  เมื่อพุทธศาสนิกชนสร้างบุญ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็จะให้บุญซึ่งเป็นดวงกับบุคคลผู้นั้น

เมื่อสร้างบุญ สมมุติว่าเป็นการทำทาน คือ ตักบาตร บริจาคทรัพย์สิน ฯลฯ จนกระทั่งดวงบุญมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 1 คืบ  บุญนั้นก็จะกลั่นตัวเป็นทานบารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 องคุลี

เมื่อดวงทานบารมีใหญ่ขึ้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 1 คืบ  ดวงทานบารมีนั้นก็จะกลั่นตัวเป็นทานอุปบารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 องคุลี

เมื่อดวงทานอุปบารมีใหญ่ขึ้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 1 คืบ  ดวงทานอุปบารมีนั้นก็จะกลั่นตัวเป็นทานปรมัตถบารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 องคุลี

เมื่อดวงบารมีทั้งหมด 10 บารมี ต่างก็ขยายตัวเป็นปรมัตถบารมีกันหมดแล้ว  ชาติต่อไปก็จะบรรลุพระอรหันต์แบบใดแบบหนึ่ง

เรื่อง บุญ-บารมีที่ใครๆ ก็อยากได้นี้ ไม่มีพระปริยัติหรือพระปฏิบัติธรรมรูปใด สายใดเข้าใจและอธิบายได้อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ  ดังนั้น ก็ไม่มีทางที่บุคคลที่ปฏิบัติธรรมสายอื่นๆ ใดจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้

ก็ไม่รู้จักบุญ-บารมี 30 ทัศ แล้วจะไปกำจัดกิเลส สังโยชน์ให้หมดสิ้นเป็นสมุจเฉทประหารได้อย่างไร


-------------------------
เขียนโดย ดร. มนัส โกมลฑา Ph.D. (สหวิทยาการ)
www.manaskomoltha.net
Facebook Fanpage: https://www.facebook.com/manas4299/
Line ID : manas4299
Youtube: https://www.youtube.com/user/mommeam4299/
โทรศัพท์ : 083-4616989



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น