บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

นิยามของบุญบาป


มีคนเข้าไปตั้งกระทู้ในห้องศาสนา พันธุ์ทิพย์ที่น่าสนใจ และควรนำมาวิพากษ์วิจารณ์กัน กระทู้นั้นชื่อ “บุญ-บาป ในศาสนาพุทธมีนิยามอย่างไร มีจริงไหม และใช้ได้กับทุกคนไหม

เนื้อหาของกระทู้ก็เป็นดังนี้


อยากรู้ครับ ว่าบุญ-บาปในศาสนาพุทธมีนิยามอย่างไร สงสัยครับ
1. การกระทำใดบ้างเป็นบุญ การกระทำใดบ้างเป็นบาป
2. บุญ-บาปมีหน่วยวัดไหม เพื่อจะได้รู้ว่าวันๆ เราทำบุญหรือทำบาปมากกว่ากัน


เนื้อหาทำนองนี้ ผมเขียนไปหลายครั้งแล้ว แต่คนตั้งคำถาม ไม่ได้มาอ่านที่ผมเขียน มัวไปแต่ไปอ่านห้องศาสนาของพันธุ์ทิพย์ ซึ่งเป็นที่รวมของบรรดาสมองหมา ปัญญาควาย จึงไม่ได้คำตอบที่ถูกต้องเสียที

คนในห้องศาสนาของพันธุ์ทิพย์อีกกลุ่มหนึ่งก็คือ คนหน้าใหม่  ที่คิดว่า “ที่นั่น” คงให้ความรู้ที่แท้จริงได้ 

แต่ในความเป็นจริง ก็อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่า มีแต่สมองหมา ปัญญาควายทั้งสิ้น  คำตอบของกระทู้แต่ละคำตอบ

คนตอบไม่รู้จริง  อยากตอบเพื่ออวดโอ้อีโก้ของตนเองเท่านั้น 

มาดูกันก่อนว่า ไอ้พวกอวดโอ้อีโก้พวกนั้น ตอบมาว่าอย่างไรบ้าง

ก่อนอื่นของบอกก่อนว่า บุญ-บาปในศาสนาพุทธมี “นิยาม”  นิยามก็คือความหมายนั่นแหละ ไม่มีนิยามจะรู้ได้อย่างไรว่า อะไรคืออะไร

แล้วบุญบาปก็มีตัวชี้วัด  บุญพัฒนามากๆ ก็เป็นบารมี ซึ่งมี 30 ทัศ แต่ตัวชี้วัดเป็นดวง  ขนาดและความใสสว่างก็เป็นตัวว่า บุญและ/หรือบารมีมีมากขนาดไหนแล้ว

บาปก็เป็นดวงเหมือนกัน แต่มีสีดำ 


บุญ บาป เป็นเรื่องของโลก  ไม่มีศาสนาพุทธ  เรื่องบุญบาป มันก็มีอยู่ก่อนแล้ว

ยิ่งการเอา บุญ บาป มาวัด อันนั้นยิ่งไม่ใช่พุทธ  เพราะมันเป็นกลวิธีการปกครองธรรมดาๆ

พุทธจะรับเอาเรื่อง บุญ กับ บาป มาเฉพาะที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เพื่อการปกครอง ไม่ใช่ปรัชญา  แต่เอามา ต่อยอดไปสู่เรื่อง " กุศล หรือ อกุศล หรือ อัพยากตา "

แล้วจะไม่วัดว่า กุศลเท่านั้นใช่ อกุศลเปล่า อัพยากตาเท่านั้นใช่ อย่างอื่นเปล่า

แต่จะ  ประกาศเป็น แม่บทของพระพุทธศาสนาเลยว่า " กุศลา ธรรมา  อกุศลา ธรรมา  อัพพยากต ธรรมา "


คนตอบคนนี้ มันสมองหมา ปัญญาควายจริงๆ ไม่ได้รู้เรื่อ “ห่า” อะไรเลย แต่อยากตอบ  ตอบเป็นคนแรกเสียด้วย

บุญ-บาป ในศาสนาพุทธเราไม่รู้หรอกนะเพราะไม่ได้นับถือศาสนา

คนนี้ตอบมามากกว่านี้ แต่บรรทัดแรกมันก็กวนส้นตีนเสียแล้ว  มึงไม่นับถือศาสนา แล้วมึงจะมาตอบเรื่องบุญ บาปไปทำไม

ต่อมามีคนยก บุญกิริยาวัตถุ 10  มงคล 38  แบบไม่อธิบายอะไร  ที่น่าสนใจก็คือ ความคิดเห็นที่ 8 ดังนี้


ศาสนาพุทธจัดสิ่งที่อำนาจกำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลงว่า เป็นบุญ สิ่งที่เป็นบุญแบ่งเป็นอย่างใหญ่ๆได้ 10 อย่าง คือ

1. การไม่ฆ่าสัตว์
2. การไม่ลักทรัพย์
3. การไม่ประพฤติผิดในกาม
4. การไม่พูดปด
5. การไม่พูดยุงส่อเสียด
6. การไม่พูดก้าวร้าวหยาบคาย
7. การไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
8. การไม่เพ่งเล็ง(สิ่งต่างๆ)ด้วยความโลภ
9. การไม่โกรธ การไม่ผูกพยาบาท
10. การมีความเห็นถูกต้องชอบธรรม (เชื่อในบุญ บาป สวรรค์ นรก เป็นต้น)
ส่วนบาปจะตรงกันข้ามกับกุศลกรรมบถ 10 นี้

บุญ บาป ไม่มีหน่วยวัด (ถ้าจะดูคงดูที่ความผ่องใสของใจ ความไม่ขุ่นมัวด้วยความโลภ/โกรธ/หลง เป็นหลัก)

แต่พระพุทธเจ้าก็ได้แสดงถึงอานิสงส์ที่หวังได้จากพฤติกรรม/ศีล/วัตร ต่างๆไว้เหมือนกัน เช่น วัตรเจ็ด/สัตบุรุษธรรมทำให้เป็นพระอินทร์หรือเทวดา พรหมวิหารธรรมทำให้เข้าถึงสุคติพรหมโลก มรรดแปดทำให้หลุดพ้น บารมีสิบทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

ยกกุศลกรรมบถ 10 เสียด้วย แต่บอกว่า บุญบาปไม่มีหน่วยวัด


ผมว่า จะตั้งหน่วยวัดอยู่ครับ นับค่าบุญบาปแต่ละกิจกรรมได้คิดง่ายๆ กำลังทำแอปอยู่ สมมุติตักบาตรเชคอินปุป + 3 บุญ เหยียบมด +0.1บาป


ไอ้หมอนี่ ไอเดียบรรเจิด  ถ้าไชยบูลย์รู้ ต้องซื้อตัวไอ้นี่ไปแน่

เท่าที่อ่านกระทู้ทั้งหมด ก็อย่างที่ผมกล่าวไปแล้วคือ มีแต่พวกสมองหมา ปัญญาควายที่อยากตอบเพราะความกระสันส่วนตัวทั้งสิ้น

ไม่มีใครรู้จริงในห้องศาสนา พันธุ์ทิพย์

เรามาดูนิยามกันก่อน  นิยามก็คือ ความหมายนั่นแหละ  เอามาจากวิกิพิเดีย

บุญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือก คิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น

คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข

ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้

วิธีการทำบุญในพระพุทธศาสนาเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ในพระไตรปิฎกระบุไว้ 3 อย่าง ได้แก่
ทานมัย คือ การบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
ศีล คือ การสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
ภาวนา คือ การสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย ขยายความเพิ่มอีก 7 ประการ ได้แก่
อปจารยะ คือมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น
ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
ทิฏฐุชุกัมม์ คือการปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง
จึงรวมเป็น บุญกิริยาวัตถุ 10

คนที่ไปเขียนลงในวิกิพิเดีย ก็มองไม่เห็นบุญเหมือนกัน

บาป หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตใจเสีย คือมีคุณภาพต่ำลง ไม่ว่าจะเสียในแง่ใดล้วนเรียกว่าบาปทั้งสิ้น สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาป คือ อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่
ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ
พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ
พูดเพ้อเจ้อ
คิดโลภมาก
คิดพยาบาท
มีความเห็นผิด

มาถึงเรื่องหน่วยวัดของบุญ-บาป  ขออธิบายแค่ของบุญก็พอ  เอาโดยหลักการก่อน 

เราคงได้ยินคำว่า “บารมี 30 ทัศ”  ไม่เคยได้ยินว่า “บุญ 30 ทัศ”  แต่เคยได้ยินว่า “บุญบารมี”

เขาเรียงกันแบบนี้ คือ  บุญ --- บารมี --- อุปบารมี --- ปรมัตถบารมี  บุญเมื่อทำเต็มส่วนแล้ว จะขึ้นอับดับเป็นดวงบารมี เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 1 องคุลี

ดวงบารมี เมื่อโตขึ้น จนเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1 คืบ  ก็จะขึ้นอันดับเป็น ดวงอุปบารมี เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 1 องคุลี

ดวงอุปบารมี เมื่อโตขึ้น จนเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1 คืบ  ก็จะขึ้นอันดับเป็น ดวงปรมัตถบารมี เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 1 องคุลี

ดวงปรมัตถบารมีเมื่อโตขึ้น จนเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1 คืบ ก็ถือว่าบารมีเต็มส่วนของประเภทนั้นๆ

เมื่อดวงปรมัตถบารมีของ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา โตเต็มส่วนครบแล้ว  บุคคลผู้นั้นก็จะได้สำเร็จผลตามที่ตั้งใจไว้

ที่นี่ถามว่า ตักบาตรพระ 1 รูป ถือศีล 1 วันได้บุญเท่าไหร่  ต้องไปทูลถามพระพุทธเจ้าเอง เพราะ พระองค์จะเป็นผู้คำนวณบุญให้  

-------------------------
เขียนโดย ดร. มนัส โกมลฑา Ph.D. (สหวิทยาการ)
www.manaskomoltha.net
Facebook Fanpage: https://www.facebook.com/manas4299/
Line ID : manas4299
Youtube: https://www.youtube.com/user/mommeam4299/
โทรศัพท์ : 083-4616989

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น